คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องโดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนที่ของมวลดินและน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหลได้ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว และในบางครั้งอาจเกิดดินยุบตัวได้เช่นกัน
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=99799&filename=index)
กระบวนการเกิดดินถล่มหรือโคลนถล่ม
- เมื่อฝนตกหนักน้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
- ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง
- เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
- เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
- เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=99799&filename=index)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มหรือโคลนถล่ม
- อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
- มีร่องรอยดินไหล ดินเลื่อน หรือรอยแยกของพื้นดินบนภูเขา
- อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยมีโคลนถล่มมาในอดีต
- ถูกน้ำป่าไหลหลากและท่วมบ่อย
- มีกองหิน เนินทรายปนโคลนและต้นไม้ ในห้วยใกล้หมู่บ้าน
- พื้นห้วยจะมีก้อนหินขนาดเล็กใหญ่อยู่ปนกันตลอดท้องน้ำ
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=99799&filename=index)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มหรือโคลนถล่ม
- อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
- มีร่องรอยดินไหล ดินเลื่อน หรือรอยแยกของพื้นดินบนภูเขา
- อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยมีโคลนถล่มมาในอดีต
- ถูกน้ำป่าไหลหลากและท่วมบ่อย
- มีกองหิน เนินทรายปนโคลนและต้นไม้ ในห้วยใกล้หมู่บ้าน
- พื้นห้วยจะมีก้อนหินขนาดเล็กใหญ่อยู่ปนกันตลอดท้องน้ำ
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=99799&filename=index)
ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ
- มีฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
- ระดับน้ำในห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีของดินบนภูเขา
- มีเสียงดัง อื้ออึง ผิดปกติดังมาจากภูเขาและลำห้วย
- น้ำท่วมหมู่บ้าน และเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=99799&filename=index)
การรับมือกับภัยพิบัติดินถล่มหรือโคลนถล่ม
ข้อควรจำ
เมื่อเกิดฝนตกหนัก หรือเกิดแผ่นดินไหว มักเกิดดินถล่มตามมา ให้สังเกตสีของน้ำที่ไหลผ่าน หากมีสีขุ่นข้นอาจเกิดภัยดินโคลนถล่ม เมื่อเกิดดินถล่ม จะเป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งปลูกสร้าง เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด เสาไฟฟ้า และต้นไม้ล้ม
ข้อควรปฏิบัติ
- หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านอาศัยอยู่ในบริเวณที่เคยมีเหตุการณ์ดินถล่ม หรือบริเวณหุบเขา พื้นที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ลาบลุ่มแอ่งกระทะ พื้นที่ร่องน้ำ พื้นที่ถมดินใหม่ที่มีความลาดชัน
- หากท่านอยู่ในพื้นที่บริเวณอันตราย ให้สำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อเตรียมการหนีภัย
- ควรปลูกพืชยึดหน้าดินบริเวณเชิงเขา และพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเสี่ยงของแผ่นดินถล่ม
- สังเกตอากาศหากฝนตกหนัก ควรอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัยโดยเร็ว
- สังเกตพื้นที่รอบที่อยู่อาศัยหากพบสิ่งบอกเหตุที่มีโอกาสเกิดดินถล่มให้แจ้งหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว