กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม

ปภ.จับมือ GISTDA ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

วันนี้ (23 ก.พ.65) เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และนายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำหรับเป็นเครื่องมือและกลไกบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศแบบครบวงจร โดยมีนายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายตติยะ ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ผู้บริหาร ปภ. และ สทอภ. เข้าร่วมพิธีฯ นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำลังก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการสาธารณภัย ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในวันนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่าง 2 หน่วยงานที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายและให้การสนับสนุนภารกิจด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกันมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นทางการของทั้งสองหน่วยงานที่จะร่วมกับขับเคลื่อนการจัดการสาธารณภัยบนฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์คาดการณ์สถานการณ์ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่าและหมอกควัน และตัดสินใจในการบริหารจัดการกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นหรือใกล้จะเกิดขึ้นมีความชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถวางแผนการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและเครื่องจักรกลสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติการทั้งในมิติห้วงเวลาและพื้นที่ นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กล่าวว่า การบูรณาการฐานข้อมูลทั้งข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และข้อมูลด้านสาธารณภัย จะทำให้สามารถนำไปวิเคราะห์เข้าด้วยกัน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย รวมถึงนำข้อมูลไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในทุกภาคส่วนด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลสถิติสาธารณภัยในปัจจุบันพบว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สทอภ. จึงได้ตระหนักและมุ่งผลักดันการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาสนับสนุนในการบริหารจัดการกับสถานการณ์สาธารณภัยของประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ผลกระทบ และความเสียหายจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น สำหรับความร่วมมือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในครั้งนี้เป็นกรอบความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน ส่งเสริมและสนับสนุนข้อมูล เพื่อนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือและกลไกในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศ ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ อาทิ ไฟป่า อุทกภัย ภัยแล้ง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ธรณีพิบัติ เป็นต้น รวมถึงการตรวจสอบสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง โดยในกรณีที่เกิดเหตุสาธารณภัย ปภ. จะให้การสนับสนุนข้อมูลด้านสาธารณภัย อาทิ สถิติการเกิดภัยในพื้นที่ต่างๆ ตามประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย และข้อมูลจากรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยตามประเภทของภัยต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้ รวมทั้งข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้น และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ สทอภ. โดยเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น APIs (Application Programming Interface) ขณะที่ สทอภ. จะได้ให้การสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่อยู่ในคลัง (Archive) ที่ สทอภ. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่คิดมูลค่า รวมถึงข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เจ้าของลิขสิทธิ์ให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า ให้แก่ ปภ. นำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนจัดการป้องกันและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที//////////