กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
13.51 น. 25 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 54 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 299 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.26 น. 23 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.5 ความลึก 7 กม. บริเวณมณฑลยูนนาน,ประเทศจีน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ประมาณ 144 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 23.00 น. 22 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.2 ความลึก 209 กม. บริเวณ Jujuy Province, Argentina ห่างจากไทยประมาณ 17,650 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 23.47 น. 21 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.8 ความลึก 184 กม. บริเวณ Hindu Kush Region, Afghanistan ห่างจากไทยประมาณ 3,223 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 00.12 น. 19 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.9 ความลึก 10 กม. บริเวณ Near Coast of Ecuador ห่างจากไทยประมาณ 19,285 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 07.49 น. 14 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.2 ความลึก 209 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 5,067 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 14.53 น. 8 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.0 ความลึก 1 กม. บริเวณ ประเทศเมียนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 50 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.11 น. 7 มี.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.2 ความลึก 10 กม. บริเวณ หมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ห่างจากไทยประมาณ 640 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม

ปภ. จับมือ 8 หน่วยงาน ร่วมเฝ้าระวังและดูแลทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของไทย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย จับมือ 8 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย มูลนิธิชุมชนไทย และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงนามความร่วมมือในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการแจ้งเตือนภัยและสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน
วันนี้ (15 พ.ย. 2565 ) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมเมโทรโพล แกรนด์ บอลรูม โรงแรมคอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ต ทาวน์ จังหวัดภูเก็ต นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับ พลเรือโท อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 นายอำนวย คงพรหม ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ผู้แทนอธิบดีกรมประมง นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 กรมเจ้าท่า นายสฤษฏ์พัฒน์ ภมรวิสิฐ รองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ฝ่ายต่างประเทศ รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนไท นางมาลินี สมิทธิ์ฤทธี เลขาธิการและผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการสนับสนุนและบูรณาการเครือข่ายเฝ้าระวังและดูแลรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย โดยมีนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนส่วนราชการในจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการแจ้งเตือนภัยพิบัติในพื้นที่ รวมถึงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ปภ. ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันในการสนับสนุนการดูแลรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของไทย และร่วมกันสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการติดตั้งทุ่นตรวจวัดสึนามิ รวมทั้งจะได้ร่วมกันอำนวยความสะดวก ประสานและติดตามทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิให้พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และ 8 หน่วยงาน จะให้การสนับสนุนแก่กันทั้งในด้านการวางระบบและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการติดตั้ง ดูแลรักษา เฝ้าระวัง และติดตามทุ่นฯ การให้ข้อมูลด้านการประมงและการประชาสัมพันธ์ให้กับเรือประมงได้รับทราบเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการร่วมสอดส่องดูแลรักษาทุ่นฯ รวมถึงการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการร่วมเฝ้าระวังและติดตามทุ่นฯ ทั้งในภาวะปกติและกรณีทุ่นหลุดจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ตลอดจนการสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนและภาคเครือข่ายชุมชน ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันความร่วมมือในการพัฒนา เฝ้าระวัง การดูแลรักษาระบบการแจ้งเตือนภัยสึนามิของไทย รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่ประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว
ต่อมาในเวลา 10.30 น. มีกิจกรรมการเสวนา หัวข้อ "บทบาทหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนเฝ้าระวังและดูแลรักษาทุ่นตรวจสึนามิของประเทศไทย" โดยมีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ได้แก่ 1) นาวาเอกพงษ์มิตร ณรงค์กูล รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 2) นาวาโทพรชัย สิงหบุญ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือประมง กรมประมง 3) นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 และ 4) นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งนี้ เพื่อแสดงถึงความพร้อมในการร่วมกันดูแลทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของไทยให้พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีประสิทธิภาพในการสามารถแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และให้ประชาชนสามารถเตรียมรับมือและอพยพหนีภัยได้ทันท่วงที

(ภาพและข่าว : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปภ.)