กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม

ปภ. ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ปี 66 - เตรียมพร้อมรับมืออย่างเป็นระบบ

ปภ. ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ปี 66 - เตรียมพร้อมรับมืออย่างเป็นระบบ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 66 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ประจำปี 2566 รูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise: FEX) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติกรณีเหตุสึนามิแก่ผู้เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน ให้ได้รับทราบ เข้าใจ และมีความพร้อมปฏิบัติงานกรณีเกิดเหตุสึนามิได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้บริหารกรม ปภ. เจ้าหน้าที่ Focal point และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกฯ สำหรับการฝึกฯ ได้มีการเชื่อมโยงการทำงานทั้งหน่วยงาน ปภ. ส่วนกลาง และ ปภ. จังหวัด 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง และสตูล) ภายใต้แผนดังกล่าว เพื่อทดสอบความเข้าใจในแผนงาน บทบาทของผู้ปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนค้นหาจุดอ่อน ปัญหา อุปสรรคของแผนปฏิบัติการสึนามิที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อนำมาปรับและพัฒนาแผนและแนวทางการปฏิบัติ แก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงจัดทำระเบียบปฏิบัติประจำ (SOPs) ของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างประสานสอดคล้อง และให้เจ้าหน้าที่ ปภ.มีความพร้อมปฏิบัติงานกรณีเกิดเหตุสึนามิได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (เนื้อหาและภาพ โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)