กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ และรางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ และรางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม วันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ห้อง Grand Dimond ชั้น 2 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายรัฐพล นราดิศร นายเธียรชัย ชูกิติวิบูลย์ และนางสาวชัชดาพร บุญพีระนัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมคณะผู้บริหารและหน่วยงานเครือข่าย (เครือข่ายภัยพิบัติชุมชนจังหวัดพังงา) เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 จากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐ การบริการ และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กลไกการมอบรางวัล ซึ่งรางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มอบให้ หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จ มีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐทั้งปวง รางวัลเลิศรัฐจึงเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นว่าผลการทำงานของหน่วยงาน ของรัฐเป็นที่ยอมรับและเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการว่าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการและระบบการบริหารของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 สาขา ได้แก่ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สาขาบริการภาครัฐ และสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับรางวัลเลิศรัฐ ทั้ง 3 สาขา ดังนี้ 1. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1 : การนำองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม 2. รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ได้รับรางวัลระดับดี ในผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์ม 1784 ปภ. แจ้งเหตุสาธารณภัย” โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3. รางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล ได้รับรางวัลระดับดี ในผลงานเรื่อง “ชุมชนต้นแบบบ้านน้ำเค็ม : เครือข่ายเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน” โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา และเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนจังหวัดพังงา ทั้งนี้ การได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผลจากความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อให้การปฏิบัติงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีประสิทธิภาพ พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาให้บริการประชาชน รวมถึงการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมด้วยเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ภาพและเนื้อหา โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย