กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
หน้าหลัก
เกี่ยวกับ ศภช.
ความเป็นมา ศภช.
วิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์
อำนาจหน้าที่
ผู้บริหาร กรม.ปภ
ผู้บริหาร ศภช.
โครงสร้างภายใน
สถานการณ์ประจำวัน และหนังสือแจ้งเตือน
ข่าวสาธารณภัย
ข่าวสารและกิจกรรม
คลังความรู้
อุปกรณ์เตือนภัย
ติดต่อเจ้าหน้าที่
17.01 น. 10 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 238 กม. บริเวณ Jujuy Province, Argentina ห่างจากไทยประมาณ 17,670 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
20.10 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 4,969 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
15.40 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.1 ความลึก 70 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 4,993 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
15.34 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.7 ความลึก 69 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 5,007 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
14.12 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.5 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan ห่างจากไทยประมาณ 4,505 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
13.41 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.2 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan ห่างจากไทยประมาณ 4,503 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบปฏิบัติประจำ(SOP)
เครือข่าย ศภช.
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ติดต่อ ศภช.
ผู้บริหารภายนอกเยี่ยมดูงาน
0:1
0:1
0:0
ข่าวสาธารณภัย
6
10/10/2566
17.01 น. 10 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 238 กม. บริเวณ Jujuy Province, Argentina
17.01 น. 10 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 238 กม. บริเวณ Jujuy Province, Argentina ห่างจากไทยประมาณ 17,670 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
7/10/2566
20.10 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region
20.10 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 4,969 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
7/10/2566
15.40 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.1 ความลึก 70 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region
15.40 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.1 ความลึก 70 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 4,993 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
7/10/2566
15.34 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.7 ความลึก 69 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region
15.34 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.7 ความลึก 69 กม. บริเวณ Papua New Guinea Region ห่างจากไทยประมาณ 5,007 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
7/10/2566
14.12 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.5 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan
14.12 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.5 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan ห่างจากไทยประมาณ 4,505 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
7/10/2566
13.41 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.2 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan
13.41 น. 7 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.2 ความลึก 10 กม. บริเวณ Northwestern Afghanistan ห่างจากไทยประมาณ 4,503 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
ดูทั้งหมด
ข่าวสารและกิจกรรม
6
4/10/2566
ปภ. ร่วมกับ 27 ประเทศในมหาสมุทรอินเดียฝึกซ้อมภัยสึนามิ IOWAVE 23
(4 ตุลาคม 2566) ปภ. ร่วมกับ 27 ประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023: IOWAVE 23) เพื่อทดสอบการเตรียมความพร้อมในการตอบโต้ภัยสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลและภูเขาไฟระเบิด รวมถึงเชื่อมโยงการแจ้งเตือนภัยสึนามิของแต่ละประเทศให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ 27 ประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023: IOWAVE2023) ในวันที่ 4, 11, 18 และ 25 ตุลาคม 2566 ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission: IOC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศูนย์แจ้งเตือนภัยสึนามิระดับชาติ และหน่วยงานจัดการสาธารณภัยระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น ของประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ได้ทดสอบและฝึกการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติประจำ (SOPs) การแจ้งเตือนภัยสึนามิที่เชื่อมโยงกัน และยังเป็นการทดสอบการเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญเหตุสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลและภูเขาไฟระเบิด โดยมีการจำลองสถานการณ์สึนามิ 4 สถานการณ์ และกำหนดให้ศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งชาติ (NTWC) และหน่วยงานระดับชาติ หรือสำนักงานจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ (NDMOs/LDMOs) ใช้ขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติงานของแต่ละประเทศในการตอบโต้เหตุสึนามิที่เกิดขึ้น ในส่วนของประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้เข้าร่วมการฝึก IOWave 23 โดยกำหนดขอบเขตการฝึกในบทบาทของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ภายใต้สถานการณ์จำลองการแผ่นดินไหว ขนาด 9 ในร่องลึกอันดามันนอกชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งกำหนดรูปแบบการฝึกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การฝึกปฏิบัติ (Drill) สำหรับเจ้าหน้าที่ชุดเวรประจำวันและเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (บางนา) โดยเป็นการฝึกเสมือนจริง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าใจและฝึกการปฏิบัติระเบียบปฏิบัติประจำด้านการแจ้งเตือนภัยสึนามิที่ได้จัดทำไว้ และ 2) การฝึกซ้อมบนโต๊ะ (Table Top Exercise:TTX) ซึ่งมุ่งเน้นการซักซ้อมความเข้าใจในบทบาท กระบวนการ และขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องใน SOPs การแจ้งเตือนภัยสึนามิตามที่กำหนด สำหรับการฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise) คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC) และประเทศในมหาสมุทรอินเดียได้ร่วมกันฝึกซ้อมมาแล้วจำนวน 6 ครั้ง (ปี 2009, 2011, 2014, 2016, 2018, 2020) โดยในปีนี้ IOC ได้กำหนดจัดการฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023 : IOWave23) ในช่วงระหว่างวันที่ 4-25 ตุลาคม 2566 โดยจำลองสถานการณ์สึนามิ 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ที่ 1 เริ่มต้นเวลา 04:00 UTC ของวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึกอันดามันนอกชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย สถานการณ์ที่ 2 เริ่มต้นเวลา 06:00 UTC ของวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึก Makran ของมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ สถานการณ์ที่ 3 เริ่มต้นเวลา 06:00 UTC (การปะทุเวลา 05:00 UTC) ของวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2023 : การปะทุของภูเขาไฟเกาะเฮิร์ดในภูมิภาคหมู่เกาะเคอร์เกเลน และสถานการณ์ที่ 4 เริ่มต้นเวลา 02:00 UTC ของวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึกทะเลชวาทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประเมินความพร้อมของระบบเตือนภัยและบรรเทาสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Warning and Mitigations System : IOTWMS) ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และเพื่อปรับปรุงระบบการ แจ้งเตือนภัยสึนามิ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในทะเลและสึนามิระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
26/9/2566
มท.1 มอบนโยบายกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เน้นย้ำการบริหารจัดการสาธารณภัยเชิงรุก รู้เท่าทันเหตุการณ์ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันนี้ (25 ก.ย.66) เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) พร้อมด้วยนายโชตินรินทร์ เกิดสม นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปภารกิจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำข้าราชการ ปภ.ในสังกัดส่วนกลาง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 แห่ง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 76 จังหวัด รวมถึงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา 30 สาขา ร่วมรับมอบนโยบายผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ โดย มท.1 ได้เน้นย้ำวิถีการทำงานแบบ “ทีมกระทรวงมหาดไทย” ที่ “ทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที” โดยรู้เท่าทันเหตุการณ์ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเห็นความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน กำชับให้แนวทางการบูรณาการบริหารจัดการสาธารณภัยใน 4 ประเด็นสำคัญ โดยขอให้ "ทำงานเป็นทีมด้วยความเข้าใจ เชื่อมั่น และมีเป้าหมายเดียวกัน" ในการดูแลพี่น้องประชาชนให้มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้นำนโยบายและแนวทางการทำงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัยของประเทศไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความปลอดภัยสูงสุด
26/9/2566
ปภ. เพิ่มการ “แจ้งเตือนฝนตกหนัก” บน Mobile Application: Thai Disaster Alert
ปภ. เพิ่มการ “แจ้งเตือนฝนตกหนัก” Mobile Application : Thai Disaster Alert ต่อยอด “ปภ.บอกฝน” ช่องทางติดตามสภาพอากาศจากเรดาห์ฝน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลคาดการณ์ฝนตกหนัก และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
8/9/2566
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ และรางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ และรางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม วันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ห้อง Grand Dimond ชั้น 2 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายรัฐพล นราดิศร นายเธียรชัย ชูกิติวิบูลย์ และนางสาวชัชดาพร บุญพีระนัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมคณะผู้บริหารและหน่วยงานเครือข่าย (เครือข่ายภัยพิบัติชุมชนจังหวัดพังงา) เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 จากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐ การบริการ และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กลไกการมอบรางวัล ซึ่งรางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มอบให้ หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จ มีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐทั้งปวง รางวัลเลิศรัฐจึงเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นว่าผลการทำงานของหน่วยงาน ของรัฐเป็นที่ยอมรับและเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการว่าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการและระบบการบริหารของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 สาขา ได้แก่ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สาขาบริการภาครัฐ และสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับรางวัลเลิศรัฐ ทั้ง 3 สาขา ดังนี้ 1. รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1 : การนำองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม 2. รางวัลบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ได้รับรางวัลระดับดี ในผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์ม 1784 ปภ. แจ้งเหตุสาธารณภัย” โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3. รางวัลบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล ได้รับรางวัลระดับดี ในผลงานเรื่อง “ชุมชนต้นแบบบ้านน้ำเค็ม : เครือข่ายเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชน” โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา และเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนจังหวัดพังงา ทั้งนี้ การได้รับ 3 รางวัลเลิศรัฐของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผลจากความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อให้การปฏิบัติงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีประสิทธิภาพ พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาให้บริการประชาชน รวมถึงการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมด้วยเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ภาพและเนื้อหา โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
16/6/2566
ปภ. จับมือ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เตรียมจัดงาน “Walk & Run for Tsunami Learning 2023” เดิน-วิ่ง เรียนรู้เส้นทางอพยพเมื่อเกิดสึนามิ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล เตรียมจัดงาน “Walk & Run for Tsunami Learning 2023” โดยจัดกิจกรรม “เดิน-วิ่ง เรียนรู้เส้นทางอพยพเมื่อเกิดสึนามิ – Walk & Run for Tsunami Learning 2023: Evacuation Route” ในวันที่ 15 -16 กรกฎาคม 2566 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำการฝึกการอพยพหนีคลื่นยักษ์สึนามิมารวมกับกิจกรรมการวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยใช้เส้นทางการอพยพเป็นเส้นทางการวิ่ง และเส้นชัยคือจุดปลอดภัยที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับการอพยพหนีคลื่นสึนามิโดยเฉพาะ กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัยได้เรียนรู้เส้นทางการอพยพ จดจำเส้นทางการหนีภัย และทดสอบการรับรู้ป้ายสัญลักษณ์ที่อยู่ในเส้นทาง นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกซ้อมการอพยพหนีภัย ของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอพยพและการปฏิบัติตนเมื่อมีการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวในทะเลและการเกิดคลื่นสึนามิ เพื่อจะได้อพยพหนีภัยได้อย่างปลอดภัยและทันเวลา
8/6/2566
ปภ. ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ปี 66 - เตรียมพร้อมรับมืออย่างเป็นระบบ
ปภ. ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ปี 66 - เตรียมพร้อมรับมืออย่างเป็นระบบ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 66 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการสึนามิ ประจำปี 2566 รูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise: FEX) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติกรณีเหตุสึนามิแก่ผู้เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน ให้ได้รับทราบ เข้าใจ และมีความพร้อมปฏิบัติงานกรณีเกิดเหตุสึนามิได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้บริหารกรม ปภ. เจ้าหน้าที่ Focal point และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกฯ สำหรับการฝึกฯ ได้มีการเชื่อมโยงการทำงานทั้งหน่วยงาน ปภ. ส่วนกลาง และ ปภ. จังหวัด 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง และสตูล) ภายใต้แผนดังกล่าว เพื่อทดสอบความเข้าใจในแผนงาน บทบาทของผู้ปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนค้นหาจุดอ่อน ปัญหา อุปสรรคของแผนปฏิบัติการสึนามิที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อนำมาปรับและพัฒนาแผนและแนวทางการปฏิบัติ แก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงจัดทำระเบียบปฏิบัติประจำ (SOPs) ของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างประสานสอดคล้อง และให้เจ้าหน้าที่ ปภ.มีความพร้อมปฏิบัติงานกรณีเกิดเหตุสึนามิได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (เนื้อหาและภาพ โดย กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
ดูทั้งหมด
สถานการณ์ประจำวัน และหนังสือแจ้งเตือน
6
10/10/2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
9/10/2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00 น.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00 น.
9/10/2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
8/10/2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00 น.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00 น.
8/10/2566
หนังสือในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง วันที่ 8 ตุลาคม 2566
หนังสือในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง วันที่ 8 ตุลาคม 2566
8/10/2566
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น.
ดูทั้งหมด
คลังความรู้
แผนผังแสดงกระบวนการแจ้งเตือนภัย
แผนผังแสดงกระบวนการแจ้งเตือนภัย
ระดับการแจ้งเตือนภัย
ระดับการแจ้งเตือนภัย
แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยและรายชื่อหมู่บ้านที่กลุ่มรอยเลื่อนพาดผ่าน
แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยและรายชื่อหมู่บ้านที่กลุ่มรอยเลื่อนพาดผ่าน
ดูทั้งหมด
ดูทั้งหมด