กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม
1 2 3 4 5 ..
4/10/2566
(4 ตุลาคม 2566) ปภ. ร่วมกับ 27 ประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023: IOWAVE 23) เพื่อทดสอบการเตรียมความพร้อมในการตอบโต้ภัยสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลและภูเขาไฟระเบิด รวมถึงเชื่อมโยงการแจ้งเตือนภัยสึนามิของแต่ละประเทศให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ 27 ประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023: IOWAVE2023) ในวันที่ 4, 11, 18 และ 25 ตุลาคม 2566 ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission: IOC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศูนย์แจ้งเตือนภัยสึนามิระดับชาติ และหน่วยงานจัดการสาธารณภัยระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น ของประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ได้ทดสอบและฝึกการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติประจำ (SOPs) การแจ้งเตือนภัยสึนามิที่เชื่อมโยงกัน และยังเป็นการทดสอบการเตรียมพร้อมสำหรับเผชิญเหตุสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลและภูเขาไฟระเบิด โดยมีการจำลองสถานการณ์สึนามิ 4 สถานการณ์ และกำหนดให้ศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งชาติ (NTWC) และหน่วยงานระดับชาติ หรือสำนักงานจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ (NDMOs/LDMOs) ใช้ขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติงานของแต่ละประเทศในการตอบโต้เหตุสึนามิที่เกิดขึ้น ในส่วนของประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้เข้าร่วมการฝึก IOWave 23 โดยกำหนดขอบเขตการฝึกในบทบาทของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ภายใต้สถานการณ์จำลองการแผ่นดินไหว ขนาด 9 ในร่องลึกอันดามันนอกชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งกำหนดรูปแบบการฝึกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การฝึกปฏิบัติ (Drill) สำหรับเจ้าหน้าที่ชุดเวรประจำวันและเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (บางนา) โดยเป็นการฝึกเสมือนจริง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าใจและฝึกการปฏิบัติระเบียบปฏิบัติประจำด้านการแจ้งเตือนภัยสึนามิที่ได้จัดทำไว้ และ 2) การฝึกซ้อมบนโต๊ะ (Table Top Exercise:TTX) ซึ่งมุ่งเน้นการซักซ้อมความเข้าใจในบทบาท กระบวนการ และขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องใน SOPs การแจ้งเตือนภัยสึนามิตามที่กำหนด สำหรับการฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise) คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC) และประเทศในมหาสมุทรอินเดียได้ร่วมกันฝึกซ้อมมาแล้วจำนวน 6 ครั้ง (ปี 2009, 2011, 2014, 2016, 2018, 2020) โดยในปีนี้ IOC ได้กำหนดจัดการฝึกซ้อมภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Exercise in 2023 : IOWave23) ในช่วงระหว่างวันที่ 4-25 ตุลาคม 2566 โดยจำลองสถานการณ์สึนามิ 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ที่ 1 เริ่มต้นเวลา 04:00 UTC ของวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึกอันดามันนอกชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย สถานการณ์ที่ 2 เริ่มต้นเวลา 06:00 UTC ของวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึก Makran ของมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ สถานการณ์ที่ 3 เริ่มต้นเวลา 06:00 UTC (การปะทุเวลา 05:00 UTC) ของวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2023 : การปะทุของภูเขาไฟเกาะเฮิร์ดในภูมิภาคหมู่เกาะเคอร์เกเลน และสถานการณ์ที่ 4 เริ่มต้นเวลา 02:00 UTC ของวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2023 : แผ่นดินไหวขนาด ~9 ในร่องลึกทะเลชวาทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประเมินความพร้อมของระบบเตือนภัยและบรรเทาสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tsunami Warning and Mitigations System : IOTWMS) ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และเพื่อปรับปรุงระบบการ แจ้งเตือนภัยสึนามิ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในทะเลและสึนามิระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
20/9/2565
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการแจ้งเตือนข่าวสารสาธารณภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศให้ผู้ใช้งานได้รับทราบ ซึ่งพร้อมให้ประชาชนดาวน์โหลดเพื่อทดลองการใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ IOS “THAI DISASTER ALERT” เป็น Mobile Application แจ้งเตือนภัยที่มีจุดเด่นในการแจ้งเตือนแบบเจาะลึกเข้าถึงเฉพาะพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติแบบ Real Time เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกันภัย ก่อนที่ภัยจะมาถึง
26/9/2566
วันนี้ (25 ก.ย.66) เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุม 1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) พร้อมด้วยนายโชตินรินทร์ เกิดสม นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปภารกิจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำข้าราชการ ปภ.ในสังกัดส่วนกลาง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 แห่ง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 76 จังหวัด รวมถึงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา 30 สาขา ร่วมรับมอบนโยบายผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ โดย มท.1 ได้เน้นย้ำวิถีการทำงานแบบ “ทีมกระทรวงมหาดไทย” ที่ “ทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที” โดยรู้เท่าทันเหตุการณ์ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเห็นความทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องเร่งด่วน กำชับให้แนวทางการบูรณาการบริหารจัดการสาธารณภัยใน 4 ประเด็นสำคัญ โดยขอให้ "ทำงานเป็นทีมด้วยความเข้าใจ เชื่อมั่น และมีเป้าหมายเดียวกัน" ในการดูแลพี่น้องประชาชนให้มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้นำนโยบายและแนวทางการทำงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัยของประเทศไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความปลอดภัยสูงสุด
26/9/2566
ปภ. เพิ่มการ “แจ้งเตือนฝนตกหนัก” Mobile Application : Thai Disaster Alert ต่อยอด “ปภ.บอกฝน” ช่องทางติดตามสภาพอากาศจากเรดาห์ฝน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลคาดการณ์ฝนตกหนัก และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
1 2 3 4 5 ..