กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

กลุ่ม
.. 3 4 5 6 7 ..
22/11/2565
15 พ.ย. 65 เวลา 13.30 น. ที่ท่าเรือน้ำลึก ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานในการปล่อยเรือวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน โดยมีนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กงสุลจากประเทศต่าง ๆ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายอาสาสมัครภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมงาน สำหรับการวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในครั้งนี้เป็นการวางทดแทนทุ่นเดิมในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ทั้งนี้ การติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิถือเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยสึนามิ เพื่อให้สามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว
21/11/2565
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย จับมือ 8 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพเรือ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย มูลนิธิชุมชนไทย และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงนามความร่วมมือในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการแจ้งเตือนภัยและสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน
26/10/2565
เมื่อวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 - 12.00 น. นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนายประสงค์ ธัมมะปาละ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุมหารือกับคณะเจ้าหน้าที่จาก Regional Integrated Multi-Hazard Early Warning System (RIMES) เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่าง ปภ. และ RIMES เรื่องการดำเนินการระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) สำหรับการพยากรณ์ผลกระทบจากอุทกภัยของประเทศไทย
6/10/2565
LINE ประเทศไทย จับมือ ปภ. และกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดตัว LINE ALERT บัญชีแจ้งเตือนภัยพิบัติ LINE ประเทศไทย ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดตัว LINE ALERT บัญชีทางการแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรง หนึ่งความร่วมมือสำคัญระหว่างแพลตฟอร์ม LINE และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภัยพิบัติในประเทศไทยในการเสริมประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแก่ประชาชนที่เข้าถึงง่าย ทั่วถึง และทันเวลา วันที่ 5 ต.ค.65 เวลา 14.00 น. ที่ ไลน์ พาร์ค ออฟฟิศ ไลน์ ประเทศไทย อาคารเกษรทาวเวอร์ กรุงเทพฯ นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นางสาวชมภารี ชมพูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และ ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE (ประเทศไทย) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการสร้างสรรค์และให้บริการ LINE ALERT เพื่อสร้างช่องทางรวบรวมและสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบข้อมูลข่าวสารและการแจ้งเตือนภัยที่เกิดขึ้นประเทศไทย โดยมีนายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้บริหาร ปภ. กรมอุตุฯ และผู้แทนบริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศที่สอดรับกับพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันนิยมสื่อสารผ่านทางสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าที่รวดเร็วและเข้าถึงระดับพื้นที่ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยที่ผ่านมา ปภ.ได้พัฒนาช่องทางการสื่อสารและแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนทั้งในรูปแบบแอพพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT และ LINE Official @1784DDPM รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดียช่องทางการของ ปภ. เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณภัยและให้ประชาชนเข้าถึงการแจ้งเตือนภัยได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการเปิดให้บริการ LINE ALERT ซึ่งเป็นบัญชีแจ้งเตือนภัยพิบัติ ที่บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินการและเชิญชวนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรมอุตุนิยมวิทยาเข้าร่วมโครงการ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญระหว่างแพลตฟอร์ม LINE และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภัยพิบัติในประเทศไทย ในการเพิ่มช่องทางแจ้งเตือนภัยไปยังประชาชน ซึ่งเป็นการหนุนเสริมรูปแบบของการแจ้งเตือนสาธารณภัยเพิ่มจากที่หน่วยงานมีอยู่ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยที่เข้าถึงง่าย ทั่วถึง และทันเวลา สามารถเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที LINE ALERT เป็นบัญชีทางการที่จะแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรง โดยมี LINE ประเทศไทย เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มตัวกลางสำหรับการสื่อสาร โดยร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นหน่วยงานอัปเดตและนำส่งข้อมูลเพื่อทำการแจ้งเตือนภัยไปยังประชาชนทั่วประเทศ โดยสามารถเพิ่มเพื่อนได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพียงค้นหา @linealert หรือ https://lin.ee/l40xtWN Cr: กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปภ.
.. 3 4 5 6 7 ..