กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ - National Disaster Warning Center
18.21 น. 04 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.6 ความลึก 130 กม. บริเวณ Mindanao, Philippines ห่างจากไทยประมาณ 2,480 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 10.35 น. 4 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 5.8 ความลึก 10 กม. บริเวณ Philippine Islands Region ห่างจากไทยประมาณ 1,705 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.38 น. 03 ต.ค. 66 แผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. บริเวณ Southeast of Honshu, Japan ประมาณ 4,683 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 02.52 น. 25 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเวียดนาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประมาณ 336 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.14 น. 24 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 235 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 21.24 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 5.1 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 204 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 18.49 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.0 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 194 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 17.56 น. 23 ก.ย. 66 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.1 ความลึก 1 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 75 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

อุปกรณ์เตือนภัย

อุปกรณ์เตือนภัยของประเทศไทย

กลุ่ม
1 2
18/10/2565
ข้อมูลทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย จำนวน 2 ทุ่น ในทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย
20/9/2565
ส่วนประกอบของระบบเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ รายการที่ 1 ระบบควบคุมการเตือนภัย จำนวน 1 ชุด ซึ่งจะติดตั้งอยู่ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนภัยให้แก่ หอเตือนภัย และสถานีรับสัญญาณเตือนภัยต่าง ๆ รวมทั้งจัดส่งคำเตือนเกี่ยวกับพิบัติภัยไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง รายการที่ 2 หอเตือนภัยจำนวน 338 แห่ง ซึ่งจะติดตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามรายละเอียดที่กำหนดโดยรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียมโดยตรงจากระบบควบคุมการเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนถึงภัยพิบัติต่าง ๆ ในลักษณะเสียงไซเรน และคำพูดที่เตรียมไว้ โครงสร้างของส่วนฐานหอเตือนภัย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลักษณะ stand alone และ self sustain มีความสูง 16.5 เมตรจากพื้นดิน เส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เมตร ทาสีขาว ฐานของหอเตือนภัยมีพื้นที่ไม่เกิน 4 x 4 ตารางเมตร ล้อมรั้วด้วยตาข่าย มีลวดหนาม 3 แถว ที่ด้านบนของรั้ว อุปกรณ์ที่ใช้ส่งสัญญาณและรัศมีการส่งสัญญาณ ระบบกระจายเสียงประกอบด้วย ลำโพงและเครื่องขยายเสียง กำลังงานที่ส่งออกไม่น้อยกว่า 115 dB ที่ระยะห่าง 30 เมตร มีรัศมีการส่งสัญญาณอย่างต่ำ 1 กิโลเมตรจากจุดติดตั้ง
20/9/2565
ข้อมูลสถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย(CSC) จำนวน 285 แห่ง ซึ่งจะติดตั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือส่วนราชการในตำบลที่มีพื้นที่ ที่จะได้รับผลกระทบจากดินถล่ม และน้ำป่า ไหลหลาก ทำหน้าทีรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียมจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและถ่ายทอด สัญญาณเตือนภัยสู่เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่และหอกระจายข่าวในชุมชนโดยใช้คลื่นวิทยุ
20/9/2565
ข้อมูลหอกระจายข่าว จำนวน 674 แห่ง ติดตั้งในชุมชนในพื้นที่เสียงภัยเพื่อรับและกระจายสัญญาณโดยรับสัญญาณเตือนภัยผ่านทางสถานีถ่ายทอดสัญญาณ เตือนภัยโดยใช้คลื่นวิทยุและกระจายข้อความและเสียงเตือนผ่านเสากระจายข่าว โครงสร้างเสากระจายข่าวในชุมชน เสากระจายข่าว เป็นท่อเหล็กชุบสังกะสี (ป้องกันการเกิดสนิม) เป็นชนิด Monopole หรือ self support Tower มีโครงสร้างเสา เป็นเหล็กกันสนิม (hot-dipped galvanized) สูงไม่น้อยกว่า 12 เมตร จากระดับพื้นดิน ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีตที่มั่นคง ทาสีแดง-ขาว มีระบบกันฟ้าผ่า และระบบสายดิน ฐานของเสากระจายข่าวมีพื้นที่ไม่เกิน 2.5 x 2.5 ตารางเมตร ระบบกระจายเสียง ลำโพงขนาด 150 วัตต์ จำนวน 4 ตัว เครื่องขยายเสียงขนาดไม่ต่ำกว่า 350 วัตต์ (RMS) ไมโครโฟนสำหรับพูดข้อความกระจายเสียง ระยะห่างระหว่างชุดกระจายเสียง และเสากระจายข่าวไม่เกิน 50 เมตร
1 2